ดอกทานตะวัน

ดอกทานตะวันเหลืองทองให้โชค บานสะพรั่งต้อนรับลมหนาว
มีชื่อตามภาษาถิ่นพายัพว่า บัวผัด
เป็นพืชปีเดียว พืชล้มลุก อายุปีเดียว (annual plant)
อยู่ในวงศ์ Asteraceae
มีฐานรองกลุ่มดอก (inflorescence) ลำต้นตั้งตรง มีทั้งพันธุ์ต้นเตี้ยและต้นสูง สูงได้ถึง 3-3.5เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม หลังจากที่มีใบเกิดแบบตรงข้ามได้ 5 คู่แล้ว ใบที่เกิดหลังจากนั้นจะมีลักษณะวน ใบรูปกลมรีขนาดใหญ่ ปลายใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย มีขนตามแผ่นใบ

ลำต้นตั้งตรงเป็นสีเขียวแกนแข็ง ไม่มีการแตกแขนง (ยกเว้นบางสายพันธุ์) ตามต้นมีขนยาวสีขาวค่อนข้างแข็งปกคลุมตลอด ส่วนรากเป็นระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปในดินประมาณ 150-270 เซนติเมตร มีรากแขนงค่อนข้างแข็งแรงและแผ่ขยายไปทางด้านข้างได้ถึง 60-150 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแสงแดดจัดเพราะเป็นไม้กลางแจ้ง

ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกที่ปลายยอด ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ดอกมีขนาดใหญ่เป็นสีเหลืองเข้ม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 25-30 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นจำนวนมากเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ กลางดอกมีเกสรสีน้ำตาลอมสีม่วงและภายในมีผลจำนวนมาก เพศผู้มี 5 อัน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว ดอกมีเกสรเพศเมียอยู่ตรงกลาง 1 อัน

ดอกทานตะวัน
ดอกทานตะวัน

ผลทานตะวันหรือเมล็ดทานตะวัน ผลแห้ง รูปรีและแบนนูน ด้านหนึ่งมน อีกด้านหนึ่งแหลม มีจำนวนมากอยู่ตรงฐานดอก ภายในผลมีเมล็ดสีเหลืองอ่อน 1 เมล็ด รูปรียาว  เปลือกหุ้มผลแข็ง สีเทาเข้มหรือสีดำและเป็นลาย ผล

เมล็ดทานตะวันจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
เมล็ดที่ใช้กิน (ผลใหญ่ เปลือกหนาไม่ติดกับเนื้อในเมล็ด)
เมล็ดที่ใช้สำหรับเลี้ยงนกหรือไก่
เมล็ดที่ใช้สกัดทำน้ำมัน (ผลเล็ก สีดำ เปลือกบาง)
ผลมีขนาดประมาณ 6-17 มิลลิเมตร เปลือกหุ้มผลแข็ง เปลือกผลเป็นสีเทาเข้มหรือสีดำและเป็นลาย

อัตราการเจริญเติบโตเร็ว ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงแดดตลอดวัน ต้องการน้ำปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด เป็น ไม้ประดับในกระถางหรือปลูกลงแปลง มีหลากหลายพันธุ์ให้เลือกปลูก บางพันธุ์นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก และเมล็ดใช้สกัดน้ำมันได้

ดอกทานตะวัน
ดอกทานตะวัน

เมล็ดทานตะวันนำมาคั่วให้แห้งใช้กินเป็นอาหารว่างได้ หรือจะนำมาอบหรือใช้ปรุงแต่งขนมหวานทานตะวันแผ่น ทานตะวันเป็นพืชให้น้ำมันโดยสกัดจากเมล็ด น้ำมันดอกทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงสามารถนำไปใช้ในการฟอกหนังและประกอบอาหาร

ดอกทานตะวัน
ดอกทานตะวัน

ดอกทานตะวันเข้ามาในประเทศในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวฝรั่งเศสนำมาปลูก ปัจจุบัน มีการปลูกทานตะวันเป็นท้องทุ่งจำนวนมากในประเทศไทย

ถิ่นกำเนิดในอเมริกาเหนือ ชิลี เปรู ชาวเผ่าอินคาที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่ดั้งเดิมที่เคยอาศัยอยู่ในประเทศเปรู บูชาและนับถือพระอาทิตย์ ถือว่าดอกทานตะวันเป็นสัญลักษณ์แห่งพระอาทิตย์ และความเชื่อนี้ก็ได้ตกทอดไปสู่ชาวอินเดียนแดงที่อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือในช่วงเวลาต่อมา

ตำนานดอกทานตะวันในเทพนิยายกรีกมีนางไม้ชื่อ Clytie ที่หลงรักเทพอพอลโล ที่เป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้เฝ้ามองอพอลโลทุกวันจนผมสีทองของเธอกลายเป็นกลีบดอกสีเหลืองและใบหน้ากลายเป็นดอกทานตะวัน ชื่อ Helianthus มาจากคำว่า helios ที่แปลว่าดวงอาทิตย์ กับคำว่า anthos ที่แปลว่า ดอกไม้ ที่งดงามมาก

ดอกทานตะวัน
ดอกทานตะวัน