วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา วันพระ

วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า วิสาขปุรณมีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
(เดือน ๖) ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ๓ ประการ ในวันวิสาขบูชา ดังนี้

1. ประสูติ
พระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ประสูติพระราชโอรส
คือเจ้าชายสิทธัตถะ ที่ใต้ต้นสาระ พระราชอุทยานลุมพินี ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ปัจจุบันคือประเทศเนปาล ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ า เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี

2. ตรัสรู้
เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 15 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์
ฝั่งแม่น้้าเนรัญชรา ต้าบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่้า เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 85 ปี
หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นต้าบลหนึ่งของเมืองคยา ประเทศอินเดีย

3. ปรินิพพาน
หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์เป็นเวลา 45 ปี พระชนมายุ
ได้ 80 พรรษา จึงเสด็จปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่้า เดือน 6 ปีมะเส้ง
ณ สาวโนทยานของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ
ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสินคระแคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

วันวิสาขบูชา เป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เนื่องจากล้วนมีเหตุการณ์
ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานในคราวเดียว ดังนั้น เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระคุณของพระองค์ องค์การสหประชาชาติ จึงกำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลก โดยเรียกว่า Vesak Day โดยการเสนอของประเทศศรีลังกา และมีมติเป็นเอกฉันท์ในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยให้เหตุผลว่า
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนา สามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และได้กำหนดวันวิสาขบูชานี้ถือเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติอีกด้วย

ความเป็นมาวันวิสาขบูชาในประเทศไทย

ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า
คงจะได้แบบอย่างมาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๒๐ พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่างมโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่สมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมาก เพราะพระสงฆ์ชาวลังกาได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย

ในหนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้พอสรุปใจความได้ว่า เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัย ทั่วทุกหมู่บ้านทุกตำบลต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน
พระมหากษัตริย์และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีลและทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพรประธาน

ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า
คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ ๔ เท้า ๒ เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป

ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามามีอิทธิพลสูงต่อประชาชนชาวไทย จึงไม่ปรากฏหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๖๐ ทรงดำริกับสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟูการประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้นเป็นครั้งแรกในวันขึ้น ๑๔ ค่ า ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๖ พุทธศักราช ๒๓๖๐ และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย
และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน

หลักธรรมที่ควรนำมาปฏิบัติเกี่ยวกับวันวิสาขบูชา
1. กตัญญู 2. อริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค 3.ความไม่ประมาท

แนวทางการปฏิบัติสำหรับพุทธศาสนิกชน
1. ให้ทาน 2.รักษาศิล 3.เจริญภาวนา 4.เวียนเทียน

วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา